วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556
ลำดับการศึกษาในอาเซียน
ลำดับการศึกษาในอาเซียน
3 ก.ย. 56 นายภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลการประชุมของ World Economic Forum (WEF) - The Global Cometitiveness Report 2012-2013 ซึ่งเป็นการประชุม "เวทีเศรษฐกิจโลก" ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยองค์กรอิสระที่ไม่หวังผลกำไร และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ โดยผลที่ได้จากการประชุมจะมีส่วนสำคัญในการเสนอแนะทิศทาง กำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจสังคม และการพัฒนาระหว่างประเทศนั้น ได้จัดอันดับคุณภาพการศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน และปรากฏว่า ประเทศไทย อยู่ในอันดับรั้งท้าย คือ อันดับที่ 8 มีคะแนนต่ำที่สุด เป็นรองจากประเทศเวียดนาม ที่ได้อันดับ 7 และประเทศกัมพูชา อันดับ 6
"ผลการจัดอันดับได้สรุปว่า เงินทุนไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดของการมีระบบการศึกษาที่ดี และการที่ครูอาจารย์มีเงินเดือนสูงก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสามารถทางการสอนสูงตามไปด้วย สำหรับประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราผลักดันเรื่องเงินเดือนครู ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่เราก็ต้องเร่งรัดครูในเรื่องประสิทธิภาพในการสอนควบคู่กันไปด้วย"
นายภาวิช กล่าวว่า สำหรับประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาดีที่สุดในกลุ่มอาเซียนเรียงตามลำดับที่ดีที่สุด ดังนี้ อันดับ 1 ประเทศสิงคโปร์ อันดับ 2 ประเทศมาเลเซีย อันดับ 3 ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม อันดับ 4 ประเทศฟิลิปปินส์ อันดับ 5 ประเทศอินโดนีเซีย อันดับ 6 ประเทศกัมพูชา อันดับ 7 ประเทศเวียดนาม และอันดับ 8 ประเทศไทย
ทั้งนี้ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ ให้ความสนใจกับเรื่องนี้มาก และได้สั่งการให้ตนวิเคราะห์ที่มาที่ไปของผลการจัดอันดับดังกล่าว ซึ่งตนจะไปศึกษาว่าผลการจัดอันดับที่ออกมามีความเที่ยงตรงมากน้อยแค่ไหน โดยจะต้องดูวิธีการจัดว่าใช้อะไรมาเป็นตัวชี้วัดบ้าง
นายภาวิช กล่าวต่อว่า เท่าที่ดูหลักๆ เป็นการประเมินภาพรวมการจัดการศึกษาของแต่ละประเทศ และมีการนำคะแนนการสอบประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ Program for International Student Assessment (PISA) มาเป็นองค์ประกอบด้วย ซึ่งตรงนี้ต้องไปดูรายละเอียด เพราะถ้าดูข้อมูลคะแนนสอบ PISA 2012 ที่กำลังจะประกาศผลเร็วๆ นี้ ประเทศเวียดนาม เข้าสอบครั้งแรก และขณะนี้เริ่มทราบผลคะแนนแล้วว่า คะแนนคณิตศาสตร์ของเวียดนามได้สูงพอๆ กับประเทศจีน ที่เพิ่งเข้าสอบ PISA ในปี 2009 ซึ่งเท่าที่ดู เวียดนาม น่าจะติดอันดับ 1 ใน 5 มากกว่า ดังนั้นจึงต้องไปศึกษาวิธีการประเมินและตัวชี้วัดให้ละเอียดก่อน จึงจะสามารถวิเคราะห์ผลการจัดอันดับครั้งนี้ได้
"ข้อมูลนี้ถือว่าน่าตกใจ เพราะอันดับของเราถือว่าต่ำมาก แต่เมื่อเทียบในอันดับโลกเราก็ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ ไม่ต่ำขนาดนี้ ดังนั้นจึงต้องไปวิเคราะห์ข้อมูลให้ชัดเจนก่อนว่า เป็นเพราะอะไร แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาไทยก็จะต้องมีการปรับใหญ่ทั้งระบบ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่การปรับหลักสูตรเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น ที่สำคัญต้องไปดูการจัดการศึกษาในภาพรวมว่า ได้มาตรฐานโลกหรือไม่ และถ้าดูจากผลการวิเคราะห์คะแนน PISA ที่ผ่านมาเห็นได้ชัดเจนว่า เด็กไทยคิดไม่เป็น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ ประเด็นสำคัญที่เราจะต้องไปเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ การปฏิรูปวิธีการเรียนการสอน และปฏิรูปครู ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษา
วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556
บล็อกที่น่าสนใจ
บล็อกที่เกี่ยวกับเคโรโระ
http://kerorogun.blogspot.com
บล็อกที่เกี่ยวกับRonaldo
http://thitiwut2544.blogspot.com
บล็อกที่เกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์
http://scientistser.blogspot.com/
บล็อกที่เกี่ยวกับโปเกม่อน
http://pokemon-th.blogspot.com
บล็อกที่เกี่ยวกับโดราเอม่อน
http://doraemon415.blogspot.com
บล็อกที่เกี่ยวกับกรุ๊ปเลือด
บล็อกที่เกี่ยวกับนักร้อง
บล็อกที่เกี่ยวกับเกม Continent Of The Ninth
บล็อกที่เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในอาเซียน
http://kerorogun.blogspot.com
บล็อกที่เกี่ยวกับRonaldo
http://thitiwut2544.blogspot.com
บล็อกที่เกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์
http://scientistser.blogspot.com/
บล็อกที่เกี่ยวกับโปเกม่อน
http://pokemon-th.blogspot.com
บล็อกที่เกี่ยวกับโดราเอม่อน
http://doraemon415.blogspot.com
บล็อกที่เกี่ยวกับกรุ๊ปเลือด
บล็อกที่เกี่ยวกับนักร้อง
บล็อกที่เกี่ยวกับเกม Continent Of The Ninth
บล็อกที่เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในอาเซียน
เพลงประจำประชาคมอาเซียน
ASEANWAY
The ASEAN Way
Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Looking out to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.
We dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
we dare to dream,
we care to share for it's the way of ASEAN
คำแปล
ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา
อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง
มองมุ่งไปยังโลกกว้าง
สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม
ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
ร่วมกันเพื่ออาเซียน
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
นี่คือวิถีอาเซียน
เนื้อร้องภาษาไทยอย่างเป็นทางการ
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกับ
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจสังคมก้าวไกล
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Looking out to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.
We dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
we dare to dream,
we care to share for it's the way of ASEAN
คำแปล
ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา
อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง
มองมุ่งไปยังโลกกว้าง
สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม
ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
ร่วมกันเพื่ออาเซียน
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
นี่คือวิถีอาเซียน
เนื้อร้องภาษาไทยอย่างเป็นทางการ
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกับ
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจสังคมก้าวไกล
วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
มรดกโลกของประเทศมาเลเซีย
มรดกโลกของประเทศมาเลเซีย
มรดกทางโบราณคดีหุบเขาเล็งก็อง
อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู
อุทยานแห่งชาติกีนาบาลู
เมืองประวัติศาสตร์มะละกาและจอร์จทาวน์
มรดกทางโบราณคดีหุบเขาเล็งก็อง
อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู
อุทยานแห่งชาติกีนาบาลู
เมืองประวัติศาสตร์มะละกาและจอร์จทาวน์
มรดกโลกของประเทศฟิลิปปินส์
มรดกโลกของประเทศฟิลิปปินส์
โบสถ์สถาปัตยกรรมบารอกแห่งฟิลิปปินส์
เมืองประวัติศาสตร์วีกัน
อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โต-ปรินเซซา
นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์
โบสถ์สถาปัตยกรรมบารอกแห่งฟิลิปปินส์
เมืองประวัติศาสตร์วีกัน
อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โต-ปรินเซซา
นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์
อุทยานปะการังทับบาทาฮา
วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
มรดกโลกของประเทศเวียดนาม
มรดกโลกของประเทศเวียดนาม
ป้อมปราการหลวงทังล็อง
ป้อมปราการของราชวงศ์โห่
โบราณสถานเมืองเว้
เมืองโบราณฮอยอัน
อ่าวฮาลอง
ปราสาทหมีเซิน
อุทยานแห่งชาติฟง งา-เค บัง
ป้อมปราการหลวงทังล็อง
ป้อมปราการของราชวงศ์โห่
โบราณสถานเมืองเว้
เมืองโบราณฮอยอัน
อ่าวฮาลอง
ปราสาทหมีเซิน
อุทยานแห่งชาติฟง งา-เค บัง
วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
มรดกโลกของไทย
มรดกโลกของไทย
1. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
2. ผืนป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่
3. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเมืองบริวาร
4. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และเมืองบริวาร
5. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง
1. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
2. ผืนป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่
3. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเมืองบริวาร
4. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และเมืองบริวาร
5. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง
มรดกโลกของประเทศสมาชิกอาเซียน
ตัวอย่างมรดกโลกของประเทศสมาชิกอาเซียน
อุทยานแห่งชาติลอเรนซ์ (Lorentz National Park)
อุทยานแห่งชาติลอเรนซ์ อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย มีพื้นที่ 2.5 ล้านเฮคเตอร์ เป็นเขตอนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพื้นที่เพียงแห่งเดียวในโลก ที่เชื่อมพื้นที่ยอดเขามีหิมะปกคลุมกับสิ่งแวดล้อมทางทะเลเขตร้อนรวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยที่บริเวณนี้ตั้งอยู่บนจุดบรรจบของสองแผ่นทวีปที่เคลื่อนเข้าหากัน พื้นที่จึงมีความซับซ้อนทางธรณีวิทยา มีการก่อตัวของภูเขาและธารน้ำแข็ง บริเวณนี้ยังมีแหล่งฟอสซิลซึ่งเป็นหลักฐานของวิวัฒนาการของชีวิตบนเกาะนิวกินี และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุดในภูมิภาค
กลุ่มวัดพรัมบานัน (Prambanan Temple Compounds)
กลุ่มวัดพรัมบานัน อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย พื้นที่บริเวณนี้สร้างขึ้นใคริสนศตวรรษที่ ๑๐ (พุทธศตวรรษที่ ๑๕) เป็นวัดในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดเพื่อบูชาพระศิวะในอินโดนิเซีย เหนือขึ้นไปจากศูนย์กลางของพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส คือ โบสถ์ ๓ หลังมีภาพแกะสลักเล่าเรื่องรามเกียรติ์ เพื่ออุทิศถวายแด่เทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ องค์ของฮินดู (พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม) และสัตว์เทพพาหนะ
อุทยานแห่งชาติโคโมโด (Komodo National Park)
อุทยานแห่งชาติโคโมโด อยู่ในประเทสอินโดนีเซีย เป็นเกาะภูเขาไฟ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ๕,๗๐๐ ตัว ด้วยลักษณะและนิสัยใจคอที่ก้าวร้าว ทำให้พวกมันถูกเรียกว่า “มังกรโคโมโด” สัตว์เหล่านี้ไม่มีที่อื่นในโลก ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสนใจของบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่จะมาศึกษาทฤษฎีของวิวัฒนาการ เนินเขาที่ขรุขระของท้องทุ่งที่ปราศจากต้นไม้และบริเวณที่มีพืชหนาม ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงกับหาดทรายขาวกระจ่าง และน้ำสีฟ้าม้วนตัวไปเหนือปะการัง
อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน (Ujung Kulon National Park)
อุทยานแห่งชาติตั้ง ในประเทศอินโดนีเซีย อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของชวาแถบไหล่ทวีปซุนดา รวมคาบสมุทรอูจุงกูลอน เกาะนอกฝั่ง และรวมถึงเขตอนุรักษ์ธรรมชาติกรากะตั้ว(Krakatoa)ด้วย นอกเหนือจากธรรมชาติสวยงามพร้อมกับลักษณะธรณีวิทยาที่น่าสนใจเพื่อการศึกษาภูเขาไฟบนแผ่นดินตอนใน อุทยานแห่งชาตินี้ยังมีป่าฝนพื้นที่ต่ำในที่ราบชวา สัตว์และพืชใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงแรดชวา
แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน (Sangiran Early Man Site)
แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ที่ตั้งแหล่งโบราณคดีขุดค้นพบตั้งแต่ปี คริสต์ศักราช ๑๙๓๖-๑๙๔๑ (พุทธศักราช ๒๔๗๙-๒๔๘๖) พบฟอสซิลมนุษย์ และต่อมาก็พบฟอสซิลของ Meganthropus erectus/Homo erectus จำนวน ๕๐ ซาก โดยครึ่งหนึ่งเป็นฟอสซิลมนุษย์ เป็นที่อยู่อาศัยมาในอดีตราว ๑ ล้านปีครึ่ง ซังงีรันเป็นสถานที่สำคัญที่ทำให้เราเข้าใจวิวัฒนาการของมนุษย์มากขึ้น
โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์ (Baroque Churches of the Philippines)
โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์ ...โบสถ์ทั้ง ๔ หลังซึ่งหลังแรกสร้างโดยชาวสเปนในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ (พุทธศตวรรษที่ ๒๑) นั้นตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา ซานตามาเรีย ปาโออาย และมิอากาโอ รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์คือการแสดงความเป็นบาโรคของยุโรปโดยช่างฝีมือชาวจีนและฟิลิปปินส์
อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ (Tubbataha Reefs Natural Park)
อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ อยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ ครอบคลุมพื้นที่ ๓๓,๒๐๐ เฮคเตอร์ รวมถึงเกาะปะการังทางเหนือและใต้ เป็นตัวอย่างของเกาะปะการังที่มีพันธุ์สัตว์ทะเลหนาแน่นมาก เกาะเล็ก ๆ ทางเหนือเป็นที่อยู่ของนกและเต่าทะเล บริเวณนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของแนวปะการังเก่าแก่ ที่ก่อตัวเป็นกำแพงสูงถึง ๑๐๐ เมตร ทะเลสาบกว้างใหญ่และเกาะปะการัง ๒ เกาะ
อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โต-ปรินเซซา (Puerto-Princesa Subterranean River National Park)
อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โต-ปรินเซซา อยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ แสดงให้เห็นภูมิทัศน์ที่แปลกตาของภูเขาหินปูนที่มีแม่น้ำอยู่ใต้ดินลักษณะเด่นของแม่น้ำก็คือไหลตรงไปสู่ทะเล และส่วนที่อยู่ต่ำลงไปนั้นอยู่ใต้อิทธิพลของกระแสน้ำขึ้นน้ำลง บริเวณนี้ยังแสดงให้เห็นถิ่นฐานสำคัญ สำหรับการอนุรักษ์ความแตกต่างทางชีวภาพ บริเวณนี้มีระบบนิเวศน์แบบ "ภูเขาถึงทะเล" และมีผืนป่าที่สำคัญที่สุดในเอเซียอยู่หลายแห่ง
มะละกา และจอร์จทาวน์ นครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกา (Melaka and George Town, Historic Cities of the Straits of Malacca)
มะละกาและจอร์จทาวน์ อยู่ในประเทศทาเลเซีย เมืองแห่งนี้ได้พัฒนามานานกว่า ๕๐๐ ปี ด้านการค้าขายและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างตะวันออกกับตะวันตกบนช่องแคบมะละกา อิทธิพลของเอเชียและยุโรปได้ผสมผสานทางวัฒนธรรม ตึกที่ทำการของรัฐบาล โบสถ์ จตุรัส และป้อมปราการต่าง ๆ ทำให้เห็นภาพมะละกาในยุคต้นของประวัติศาสตร์ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากรัฐสุลต่านมาเลย์ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ (พุทธศตวรรษที่ ๒๐)
อุทยานแห่งชาติฟง งา-เค บัง (Phong Nha-Ke Bang National Park)
อุทยานแห่งชาติฟง งา-เค บัง (Phong Nha-Ke Bang National Park) อยู่ในประเทศเวียดนาม อุทยานแห่งชาติแห่งนี้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง (ราว ๔๐๐ ล้านปี) ดังนั้นบริเวณนี้จึงเป็นพื้นที่ภูมิประเทศแบบหินปูนที่เก่าแก่ที่สุดในเอเซีย เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลกอย่างมาก ภูมิทัศน์ของอุทยานมีความซับซ้อนด้วยรูปแบบทางธรณีวิทยาหลากหลาย บริเวณที่กว้างขวางทอดยาวไปถึงชายแดนของสาธารณรัฐประชาชนลาวนั้น เต็มไปด้วยหินรูปร่างต่าง ๆ รวมถึงถ้ำและแม่น้ำใต้ดินความยาว ๖๕ กิโลเมตร
AFTA
เขตการค้าเสรี( AFTA)
อาเซียนได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งนั่นคือการสร้างความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อจะนำไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจใ นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในการประชุมครั้งที่ 4 ในเดือน มกราคม ค.ศ. 1992 ที่ ประเทศสิงคโปร์
ผู้นำอาเซียนได้มีมติเห็นสมควรจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ( AFTA ) ขึ้น ตามข้อเสนอของ
นาย อานันท์ ปัณยารชุน นายกรัฐมนตรีของไทย และได้มีการลงนามในกรอบความตกลงขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) ที่ใช้เป็นกรอบการดำเนินการความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ ความตกลงอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือเรียกสั้น ๆ ว่า ความตกลง CEPT [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)] ที่ใช้เป็นกลไกในการดำเนินงานเขตการค้าเสรีอาเซียนและการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจาก
ต่างประเทศ ซึ่งเดิมทีเมื่อแรกดำเนินการ อาเซียนได้กำหนดเป้าหมายที่จะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันในสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูปลงเหลือ ร้อยละ 0-5 รวมทั้งยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีภายในเวลา 15 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 1993 และสิ้นสุด 1 มกราคม 2008 ต่อมาในปี 1994 อาเซียนได้เร่งรัดการดำเนินงานอาฟต้าจากเดิม 15 ปี เป็น 10 ปี คือ จัดตั้งอาฟต้าให้เสร็จภายใน 1 มกราคม 2003 รวมทั้งให้นำสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูปซึ่งเคยได้รับการยกเว้นภาษีเป็นการ
ชั่วคราวและสินค้าเกษตรไม่แปรรูปตั้งแต่เริ่มจัดตั้งอาฟต้าเข้ามาลดภาษีภายใต้อาฟต้าด้วย
วัตถุประสงค์ของเขตการค้าเสรีอาเซียน
- เพื่อให้การค้าสินค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเสรี มีอัตราภาษีต่ำสุด และปราศจากข้อจำกัดที่มิใช่ภาษี
- เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในอาเซียน
- เพื่อเสริมสร้างการแข่งขันของอาเซียน
- เพื่อรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลกที่จะเสรียิ่งขึ้น จากผลการเจรจาของแกตต์รอบอุรุกวัย
หลักการ
1. AFTA มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี
2. กลไกการลดภาษีที่สำคัญของ คือระบบ CEPT (Common Effective Preferential Tariff Scheme) ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบแทน กล่าวคือ การที่จะได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศอื่นสำหรับสินค้าชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นจะต้องประกาศลดภาษีสำหรับสินค้าชนิดเดียวกันด้วย ทั้งนี้ CEPT ได้กำหนดให้สินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีจะต้องมีสัดส่วนมูลค่าที่เกิดขึ้นในอาเซียน (ASEAN Local Content) อย่างน้อย 40% และสามารถคำนวณวัตถุดิบในอาเซียนแบบสะสม (Cumulative Rules of Origin) โดยกำหนดอัตราขั้นต่ำของวัตถุดิบเท่ากับ 20%
จากหลักการ ประเทศสมาชิกจะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 10 ปี และยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณของสินค้าหนึ่ง ๆ ทันทีที่สินค้านั้นได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรจากประเทศสมาชิกอื่น แล้วยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีอื่น ๆ ภายในเวลา 5 ปีต่อมา ทั้งนี้ กำหนดเวลาในการลดภาษีจะแตกต่างกันระหว่างสมาชิกดั้งเดิม 6 ประเทศ และสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ เนื่องจากสมาชิกใหม่เข้าร่วมใน AFTA ช้ากว่า รวมถึงมีขีดความสามารถทางการค้าที่แตกต่างจากสมาชิกดั้งเดิม
มาตรการทางภาษี
อาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดการลดภาษีใน AFTA ดังนี้
1.ประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศลดภาษีสินค้าในบัญชี Inclusion List (IL) ให้เหลือ 0-5% ภายใน วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.2003 และจะลดให้เป็น 0 % ภายในปี ค.ศ. 2010
2.ประเทศสมาชิกใหม่จะพยายามลดภาษีลงเหลือ 0-5% ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในปี 2006 สำหรับเวียดนาม; ปี 2008 สำหรับ ลาวและพม่า; และปี 2010 สำหรับกัมพูชา
3.ประเทศสมาชิกจะลดภาษีลงเหลือ 0% ทุกรายการใน IL ภายในปี 2010 สำหรับสมาชิกเดิม และภายในปี 2015 สำหรับสมาชิกใหม่ ทั้งนี้ ตั้งแต่ ม.ค. 2003 กำหนดให้ 60% ของรายการสินค้าทั้งหมดของสมาชิกเดิม 6 ประเทศมีอัตราภาษีเท่ากับ 0%
4.ภายใต้กรอบความตกลงสำหรับการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ (ลงนามระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547) กำหนดว่าจะเร่งลดภาษีสินค้าใน 9 สาขาหลัก (เกษตร ประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ) ให้เร็วขึ้นจากกรอบ AFTA เดิม 3 ปี กล่าวคือจากปี 2010 เป็น 2007 สำหรับสมาชิกเดิม และจากปี 2015 เป็น 2012 สำหรับสมาชิกใหม่
5.นอกจากสินค้าในบัญชี IL แล้ว ยังมีการกำหนดเวลาการลดภาษีสำหรับบัญชียกเว้นภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List: TEL) บัญชีอ่อนไหว (Sensitive List: SL) และบัญชีอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List: HSL) ซึ่งมีกำหนดเวลาการลดภาษีที่แตกต่างกัน ส่วนบัญชี ยกเว้นทั่วไป (General Exclusion List: GE) เป็นสินค้าที่แต่ละประเทศไม่สามารถนำมาลดภาษีได้ (ขณะนี้มีเพียงไทยและสิงคโปร์ที่ไม่มี GE)
การยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี
การจัดตั้งกลไกการระงับข้อพิพาท
ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ได้ตกลงให้มีการจัดตั้งระบบเพื่อการปฏิบัติตามความตกลงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กรอบ AFTA เป็นไปอย่างเหมาะสม และเพื่อช่วยเร่งรัดการแก้ไขข้อพิพาท ประกอบด้วยกลไก 3 ระดับ
1. กลไกให้คำแนะนำ (Advisory Mechanism) ได้แก่
(1) กลไกระงับข้อพิพาทและหน่วยงานกำกับดูแลแก้ไขปัญหาการค้าการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Consultation to Solve Trade and Investment Issues: ACT) เพื่อทำหน้าที่ประสานและให้คำปรึกษาแก่ภาคเอกชนและภาครัฐในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการค้าภายในอาเซียน โดยกลไกของ ACT ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย เน้นการให้บริการทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กำหนดให้การแก้ไขปัญหาภายใต้กลไก ACT ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 วัน โดยในส่วนของประเทศไทย ACT ได้จัดตั้งขึ้นที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ซึ่งเป็น National AFTA Unit และ
(2) การจัดตั้ง ASEAN Legal Unit ในสำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อให้ความช่วยเหลือในการตีความและให้คำแนะนำประเด็นข้อพิพาททางการค้า (ตามคำร้องขอของประเทศสมาชิก)
2. กลไกให้คำปรึกษา ได้แก่ ASEAN Compliance Body (ACB) ในกรณีที่ประเทศใดไม่ปฏิบัติตามความตกลง ประเทศที่เป็นกลาง (ไม่ได้มีส่วนในข้อพิพาท) จะได้รับการร้องขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งผลการตรวจสอบจะไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย ACB มีกำหนดเวลาพิจารณา 90 วัน
3. กลไกบังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ Enhanced ASEAN Dispute Settlement Mechanism ได้มีการลงนามในพิธีสาร ASEAN Protocol on Enhanced ASEAN DSM โดย AEM ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ซึ่งจะใช้แทน Protocol on DSM (1996) ของอาเซียน เป็นการปรับปรุงกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียนตามแบบ WTO อาทิ การจัดตั้งคณะพิจารณา (Panels) และองค์กรอุทธรณ์ (Appellate Body) นอกจากนี้ ได้มีการจัดตั้ง ASEAN DSM Fund เป็นเงิน 330,000 เหรียญสหรัฐ (แต่ละประเทศร่วมออกเงินเท่ากัน)
วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ASEAN
ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน
1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน"เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ
อ่านข้อมูลของประเทศบรูไนได้ที่นี่
2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้
อ่านข้อมูลประเทศกัมพูชา ได้ที่นี่
3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ
อ่านข้อมูลประเทศอินโดนีเซีย ได้ที่นี่
4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)
เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
อ่านข้อมูลประเทศลาว ได้ที่นี่
5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ
อ่านข้อมูลประเทศมาเลเซีย ได้ที่นี่
6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ
อ่านข้อมูลประเทศฟิลิปปินส์ ได้ที่นี่
7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)
เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)
อ่านข้อมูลประเทศสิงคโปร์ ได้ที่นี่
8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ
อ่านข้อมูลประเทศไทย ได้ที่นี่
9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)
เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
อ่านข้อมูลประเทศเวียดนาม ได้ที่นี่
10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย
มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย
มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)