วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

AFTA

                                                              เขตการค้าเสรี( AFTA)
                อาเซียนได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งนั่นคือการสร้างความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อจะนำไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจใ นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งในการประชุมครั้งที่ 4 ในเดือน มกราคม ค.ศ. 1992 ที่ ประเทศสิงคโปร์
ผู้นำอาเซียนได้มีมติเห็นสมควรจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ( AFTA ) ขึ้น ตามข้อเสนอของ
นาย อานันท์ ปัณยารชุน นายกรัฐมนตรีของไทย และได้มีการลงนามในกรอบความตกลงขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) ที่ใช้เป็นกรอบการดำเนินการความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ ความตกลงอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือเรียกสั้น ๆ ว่า ความตกลง CEPT [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)] ที่ใช้เป็นกลไกในการดำเนินงานเขตการค้าเสรีอาเซียนและการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจาก
ต่างประเทศ ซึ่งเดิมทีเมื่อแรกดำเนินการ อาเซียนได้กำหนดเป้าหมายที่จะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันในสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูปลงเหลือ ร้อยละ 0-5 รวมทั้งยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีภายในเวลา 15 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 1993 และสิ้นสุด 1 มกราคม 2008 ต่อมาในปี 1994 อาเซียนได้เร่งรัดการดำเนินงานอาฟต้าจากเดิม 15 ปี เป็น 10 ปี คือ จัดตั้งอาฟต้าให้เสร็จภายใน 1 มกราคม 2003 รวมทั้งให้นำสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูปซึ่งเคยได้รับการยกเว้นภาษีเป็นการ
ชั่วคราวและสินค้าเกษตรไม่แปรรูปตั้งแต่เริ่มจัดตั้งอาฟต้าเข้ามาลดภาษีภายใต้อาฟต้าด้วย

วัตถุประสงค์ของเขตการค้าเสรีอาเซียน

  1. เพื่อให้การค้าสินค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเสรี มีอัตราภาษีต่ำสุด และปราศจากข้อจำกัดที่มิใช่ภาษี
  1. เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในอาเซียน
  1. เพื่อเสริมสร้างการแข่งขันของอาเซียน
  1. เพื่อรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลกที่จะเสรียิ่งขึ้น จากผลการเจรจาของแกตต์รอบอุรุกวัย
          นอกเหนือจากข้อกำหนดในการลดภาษีแล้ว  AFTA ยังกำหนดให้ประเทศสมาชิกยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณ (Quantitative Restriction) ทันทีเมื่อสินค้าได้นำเข้าแผนการลดภาษีแล้ว และได้รับประโยชน์จากการลดภาษีของอาเซียนอื่นแล้ว และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTB) ภายใน 5 ปี หลังจากได้รับประโยชน์จากการลดภาษีของอาเซียนอื่น ขณะนี้ อาเซียนกำลังดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีในอาเซียน โดยให้มีกระบวนการแจ้งข้ามประเทศ (cross-notification) ซึ่งประเทศสมาชิกและภาคเอกชนสามารถแจ้งมาตรการที่มิใช่ภาษีที่ประเทศอื่นๆ ใช้อยู่ต่อสำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อรวบรวม ตรวจสอบ แล้วให้ประเทศสมาชิกที่ถูกแจ้งนั้นชี้แจงและดำเนินการยกเลิกต่อไปหากพบว่าเป็นอุปสรรคทางการค้าและไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของความตกลง CEPT 

หลักการ 
1. AFTA มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี
          2. กลไกการลดภาษีที่สำคัญของ คือระบบ CEPT (Common Effective Preferential Tariff Scheme)  ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบแทน กล่าวคือ การที่จะได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศอื่นสำหรับสินค้าชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นจะต้องประกาศลดภาษีสำหรับสินค้าชนิดเดียวกันด้วย ทั้งนี้ CEPT ได้กำหนดให้สินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีจะต้องมีสัดส่วนมูลค่าที่เกิดขึ้นในอาเซียน (ASEAN Local Content) อย่างน้อย 40% และสามารถคำนวณวัตถุดิบในอาเซียนแบบสะสม (Cumulative Rules of Origin) โดยกำหนดอัตราขั้นต่ำของวัตถุดิบเท่ากับ 20%
                จากหลักการ ประเทศสมาชิกจะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 10 ปี และยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณของสินค้าหนึ่ง ๆ ทันทีที่สินค้านั้นได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรจากประเทศสมาชิกอื่น แล้วยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีอื่น ๆ ภายในเวลา 5 ปีต่อมา ทั้งนี้ กำหนดเวลาในการลดภาษีจะแตกต่างกันระหว่างสมาชิกดั้งเดิม 6 ประเทศ และสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ เนื่องจากสมาชิกใหม่เข้าร่วมใน AFTA ช้ากว่า รวมถึงมีขีดความสามารถทางการค้าที่แตกต่างจากสมาชิกดั้งเดิม
มาตรการทางภาษี 
อาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดการลดภาษีใน AFTA ดังนี้
1.ประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศลดภาษีสินค้าในบัญชี Inclusion List (IL) ให้เหลือ 0-5% ภายใน วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.2003  และจะลดให้เป็น 0 % ภายในปี ค.ศ. 2010
2.ประเทศสมาชิกใหม่จะพยายามลดภาษีลงเหลือ 0-5% ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในปี 2006 สำหรับเวียดนาม; ปี 2008 สำหรับ ลาวและพม่า; และปี 2010 สำหรับกัมพูชา  
3.ประเทศสมาชิกจะลดภาษีลงเหลือ 0% ทุกรายการใน IL ภายในปี 2010 สำหรับสมาชิกเดิม และภายในปี 2015 สำหรับสมาชิกใหม่ ทั้งนี้ ตั้งแต่ ม.ค. 2003 กำหนดให้ 60% ของรายการสินค้าทั้งหมดของสมาชิกเดิม 6 ประเทศมีอัตราภาษีเท่ากับ 0%
4.ภายใต้กรอบความตกลงสำหรับการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ (ลงนามระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547) กำหนดว่าจะเร่งลดภาษีสินค้าใน 9 สาขาหลัก (เกษตร ประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ) ให้เร็วขึ้นจากกรอบ AFTA เดิม 3 ปี กล่าวคือจากปี 2010 เป็น 2007 สำหรับสมาชิกเดิม และจากปี 2015 เป็น 2012 สำหรับสมาชิกใหม่
5.นอกจากสินค้าในบัญชี IL แล้ว ยังมีการกำหนดเวลาการลดภาษีสำหรับบัญชียกเว้นภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List: TEL) บัญชีอ่อนไหว (Sensitive List: SL) และบัญชีอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List: HSL) ซึ่งมีกำหนดเวลาการลดภาษีที่แตกต่างกัน ส่วนบัญชี ยกเว้นทั่วไป (General Exclusion List: GE) เป็นสินค้าที่แต่ละประเทศไม่สามารถนำมาลดภาษีได้ (ขณะนี้มีเพียงไทยและสิงคโปร์ที่ไม่มี GE)

การยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี 


การจัดตั้งกลไกการระงับข้อพิพาท 

          ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ได้ตกลงให้มีการจัดตั้งระบบเพื่อการปฏิบัติตามความตกลงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กรอบ AFTA เป็นไปอย่างเหมาะสม และเพื่อช่วยเร่งรัดการแก้ไขข้อพิพาท ประกอบด้วยกลไก 3 ระดับ
          1. กลไกให้คำแนะนำ (Advisory Mechanism) ได้แก่ 
          (1) กลไกระงับข้อพิพาทและหน่วยงานกำกับดูแลแก้ไขปัญหาการค้าการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Consultation to Solve Trade and Investment Issues: ACT) เพื่อทำหน้าที่ประสานและให้คำปรึกษาแก่ภาคเอกชนและภาครัฐในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการค้าภายในอาเซียน โดยกลไกของ ACT ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย เน้นการให้บริการทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กำหนดให้การแก้ไขปัญหาภายใต้กลไก ACT ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 วัน โดยในส่วนของประเทศไทย ACT ได้จัดตั้งขึ้นที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ซึ่งเป็น National AFTA Unit และ
          (2) การจัดตั้ง ASEAN Legal Unit ในสำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อให้ความช่วยเหลือในการตีความและให้คำแนะนำประเด็นข้อพิพาททางการค้า (ตามคำร้องขอของประเทศสมาชิก)
          2. กลไกให้คำปรึกษา ได้แก่ ASEAN Compliance Body (ACB) ในกรณีที่ประเทศใดไม่ปฏิบัติตามความตกลง ประเทศที่เป็นกลาง (ไม่ได้มีส่วนในข้อพิพาท) จะได้รับการร้องขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งผลการตรวจสอบจะไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย ACB มีกำหนดเวลาพิจารณา 90 วัน
          3. กลไกบังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ Enhanced ASEAN Dispute Settlement Mechanism ได้มีการลงนามในพิธีสาร ASEAN Protocol on Enhanced ASEAN DSM โดย AEM ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ซึ่งจะใช้แทน Protocol on DSM (1996) ของอาเซียน เป็นการปรับปรุงกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียนตามแบบ WTO อาทิ การจัดตั้งคณะพิจารณา (Panels) และองค์กรอุทธรณ์ (Appellate Body) นอกจากนี้ ได้มีการจัดตั้ง ASEAN DSM Fund เป็นเงิน 330,000 เหรียญสหรัฐ (แต่ละประเทศร่วมออกเงินเท่ากัน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น