วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มรดกโลกของประเทศสมาชิกอาเซียน

             ตัวอย่างมรดกโลกของประเทศสมาชิกอาเซียน

อุทยานแห่งชาติลอเรนซ์ (Lorentz National Park)
                                   
       อุทยานแห่งชาติลอเรนซ์ อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย มีพื้นที่ 2.5 ล้านเฮคเตอร์ เป็นเขตอนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพื้นที่เพียงแห่งเดียวในโลก ที่เชื่อมพื้นที่ยอดเขามีหิมะปกคลุมกับสิ่งแวดล้อมทางทะเลเขตร้อนรวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยที่บริเวณนี้ตั้งอยู่บนจุดบรรจบของสองแผ่นทวีปที่เคลื่อนเข้าหากัน พื้นที่จึงมีความซับซ้อนทางธรณีวิทยา มีการก่อตัวของภูเขาและธารน้ำแข็ง บริเวณนี้ยังมีแหล่งฟอสซิลซึ่งเป็นหลักฐานของวิวัฒนาการของชีวิตบนเกาะนิวกินี และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุดในภูมิภาค
กลุ่มวัดพรัมบานัน (Prambanan Temple Compounds)
                                   
       กลุ่มวัดพรัมบานัน อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย พื้นที่บริเวณนี้สร้างขึ้นใคริสนศตวรรษที่ ๑๐ (พุทธศตวรรษที่ ๑๕) เป็นวัดในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดเพื่อบูชาพระศิวะในอินโดนิเซีย เหนือขึ้นไปจากศูนย์กลางของพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส คือ โบสถ์ ๓ หลังมีภาพแกะสลักเล่าเรื่องรามเกียรติ์ เพื่ออุทิศถวายแด่เทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ องค์ของฮินดู (พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม) และสัตว์เทพพาหนะ
อุทยานแห่งชาติโคโมโด (Komodo National Park)
                                   
       อุทยานแห่งชาติโคโมโด อยู่ในประเทสอินโดนีเซีย เป็นเกาะภูเขาไฟ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ๕,๗๐๐ ตัว ด้วยลักษณะและนิสัยใจคอที่ก้าวร้าว ทำให้พวกมันถูกเรียกว่า “มังกรโคโมโด” สัตว์เหล่านี้ไม่มีที่อื่นในโลก ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสนใจของบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่จะมาศึกษาทฤษฎีของวิวัฒนาการ เนินเขาที่ขรุขระของท้องทุ่งที่ปราศจากต้นไม้และบริเวณที่มีพืชหนาม ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงกับหาดทรายขาวกระจ่าง และน้ำสีฟ้าม้วนตัวไปเหนือปะการัง
อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน (Ujung Kulon National Park)
                                    
       อุทยานแห่งชาติตั้ง ในประเทศอินโดนีเซีย อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของชวาแถบไหล่ทวีปซุนดา รวมคาบสมุทรอูจุงกูลอน เกาะนอกฝั่ง และรวมถึงเขตอนุรักษ์ธรรมชาติกรากะตั้ว(Krakatoa)ด้วย นอกเหนือจากธรรมชาติสวยงามพร้อมกับลักษณะธรณีวิทยาที่น่าสนใจเพื่อการศึกษาภูเขาไฟบนแผ่นดินตอนใน อุทยานแห่งชาตินี้ยังมีป่าฝนพื้นที่ต่ำในที่ราบชวา สัตว์และพืชใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงแรดชวา
แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน (Sangiran Early Man Site)
                                  
       แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ที่ตั้งแหล่งโบราณคดีขุดค้นพบตั้งแต่ปี คริสต์ศักราช ๑๙๓๖-๑๙๔๑ (พุทธศักราช ๒๔๗๙-๒๔๘๖) พบฟอสซิลมนุษย์ และต่อมาก็พบฟอสซิลของ Meganthropus erectus/Homo erectus จำนวน ๕๐ ซาก โดยครึ่งหนึ่งเป็นฟอสซิลมนุษย์ เป็นที่อยู่อาศัยมาในอดีตราว ๑ ล้านปีครึ่ง ซังงีรันเป็นสถานที่สำคัญที่ทำให้เราเข้าใจวิวัฒนาการของมนุษย์มากขึ้น
โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์ (Baroque Churches of the Philippines)
                                    
      โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์ ...โบสถ์ทั้ง ๔ หลังซึ่งหลังแรกสร้างโดยชาวสเปนในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ (พุทธศตวรรษที่ ๒๑) นั้นตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา ซานตามาเรีย ปาโออาย และมิอากาโอ รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์คือการแสดงความเป็นบาโรคของยุโรปโดยช่างฝีมือชาวจีนและฟิลิปปินส์
อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ (Tubbataha Reefs Natural Park)
                                  
      อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ อยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ ครอบคลุมพื้นที่ ๓๓,๒๐๐ เฮคเตอร์ รวมถึงเกาะปะการังทางเหนือและใต้ เป็นตัวอย่างของเกาะปะการังที่มีพันธุ์สัตว์ทะเลหนาแน่นมาก เกาะเล็ก ๆ ทางเหนือเป็นที่อยู่ของนกและเต่าทะเล บริเวณนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของแนวปะการังเก่าแก่ ที่ก่อตัวเป็นกำแพงสูงถึง ๑๐๐ เมตร ทะเลสาบกว้างใหญ่และเกาะปะการัง ๒ เกาะ
อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โต-ปรินเซซา (Puerto-Princesa Subterranean River National Park)
                                  
       อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โต-ปรินเซซา อยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ แสดงให้เห็นภูมิทัศน์ที่แปลกตาของภูเขาหินปูนที่มีแม่น้ำอยู่ใต้ดินลักษณะเด่นของแม่น้ำก็คือไหลตรงไปสู่ทะเล และส่วนที่อยู่ต่ำลงไปนั้นอยู่ใต้อิทธิพลของกระแสน้ำขึ้นน้ำลง บริเวณนี้ยังแสดงให้เห็นถิ่นฐานสำคัญ สำหรับการอนุรักษ์ความแตกต่างทางชีวภาพ บริเวณนี้มีระบบนิเวศน์แบบ "ภูเขาถึงทะเล" และมีผืนป่าที่สำคัญที่สุดในเอเซียอยู่หลายแห่ง
มะละกา และจอร์จทาวน์ นครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกา (Melaka and George Town, Historic Cities of the Straits of Malacca)
                                    
      มะละกาและจอร์จทาวน์ อยู่ในประเทศทาเลเซีย เมืองแห่งนี้ได้พัฒนามานานกว่า ๕๐๐ ปี ด้านการค้าขายและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างตะวันออกกับตะวันตกบนช่องแคบมะละกา อิทธิพลของเอเชียและยุโรปได้ผสมผสานทางวัฒนธรรม ตึกที่ทำการของรัฐบาล โบสถ์ จตุรัส และป้อมปราการต่าง ๆ ทำให้เห็นภาพมะละกาในยุคต้นของประวัติศาสตร์ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากรัฐสุลต่านมาเลย์ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ (พุทธศตวรรษที่ ๒๐)
อุทยานแห่งชาติฟง งา-เค บัง (Phong Nha-Ke Bang National Park)
                                     
       อุทยานแห่งชาติฟง งา-เค บัง (Phong Nha-Ke Bang National Park) อยู่ในประเทศเวียดนาม อุทยานแห่งชาติแห่งนี้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง (ราว ๔๐๐ ล้านปี) ดังนั้นบริเวณนี้จึงเป็นพื้นที่ภูมิประเทศแบบหินปูนที่เก่าแก่ที่สุดในเอเซีย เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลกอย่างมาก ภูมิทัศน์ของอุทยานมีความซับซ้อนด้วยรูปแบบทางธรณีวิทยาหลากหลาย บริเวณที่กว้างขวางทอดยาวไปถึงชายแดนของสาธารณรัฐประชาชนลาวนั้น เต็มไปด้วยหินรูปร่างต่าง ๆ รวมถึงถ้ำและแม่น้ำใต้ดินความยาว ๖๕ กิโลเมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น